เล่าเรื่อง "ศัพท์ที่เด็กม.6 ต้องรู้"



      ในปัจจุบันนี้ระบบการศึกษาในสายสามัญนั้น ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังการเข้าศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเด็กม.6 จะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นการตัดสินชะตาและอนาคตเลยทีเดียว 
       และนอกจากที่จะเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเด็กม.6 เองก็ยังให้ความสำคัญกับชื่อเสียงของสถาบันรวมไปถึง คณะที่เขาชอบอีกด้วย ซึ่งแต่ละคนจะมีความชอบหรือความอยากที่แตกต่างกันไป และถึงแม้จะเลือกในมหาวิทยาลัยที่ต่างกันหรือคณะที่ต่างกัน แต่ก็มีหลายๆสิ่งที่แต่ละคณะแต่ละมหาวิทยาลัยมีเหมือนๆกัน และเป็นสิ่งที่เด็กม.6 ควรให้ความสำคัญและควรศึกษาเป็นอย่างดีด้วย


แอดมิชชั่น (Admission) การสอบแอดมิชชั่นถือว่าเป็นการสอบชี้ชะตาของนักเรียนในระดับชั้น ม.6 ทุกคนที่ต้องเข้าสู่สนามสอบแข่งขันเข้าสู่คณะและมหาวิทยาลัยที่ฝันไว้ ถือเป็นการสอบครั้งใหญ่ที่สุดของชีวิต


       แอดมิชชั่น หรือ Admission ชื่อเต็มๆว่า ระบบกลางคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Central University Admissions System: CUAS) ดูแค่ชื่อก็น่าจะทราบกันดีแล้วว่าแอดมิสชั่นคือระบบสอบกลางที่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่มีความต้องการจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ต้องสอบ แล้วนำคะแนนสอบที่ได้มายื่นเลือกคณะกันอีกที
       ระบบแอดมิชชั่นนี้ บริหารงานโดย สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า สทศ. โดยที่หน้าที่ของสทศ. คือพัฒนาข้อสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษา วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแต่ละคน สทศ.จะรับผิดชอบการประเมินผลด้านการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนหลักสูตรไทย ในประเทศไทย หลายครั้งด้วยกันคือ ป.3, ป.6, ม.3, และ ม.6 แต่ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะนับกันเฉพาะ การสอบวัดผลในระดับชั้น ม.6 เท่านั้น

       "แล้ว Admission ต้องใช้อะไรบ้างละ?" 
        1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น
       2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า  การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก
         3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
       "สอบเสร็จแล้วก็นำคะแนนที่ได้มา ไปยื่นเลือกคณะ"
       การสอบแอดมิชชั่นจะสอบรวมกันทีเดียวเลย แล้วจะนำคะแนนของวิชาไหนมายื่นบ้างก็เป็นเรื่องของแต่ละคณะจะกำหนดกันเอาเอง รวมกับ เกรดเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมปลาย (GPAX) มาร่วมคำนวนด้วย โดยน้ำหนักของคะแนนสอบแต่ละส่วนจะแตกต่างกันไปตามมหาวิทยาลัยและคณะ การคิดคะแนนจึงค่อนข้างยุ่งยาก (มาก) เมื่อนำคะแนนทั้งหมดสี่ส่วนมารวมกันเป็นคะแนนสุดท้าย แล้วนำคะแนนสุดท้ายที่ว่านี้มาทำการยื่นเลือกคณะอีกทีนึง
       การจะดูว่าคณะไหนต้องการคะแนนวิชาอะไรเท่าไหร่บ้าง หาไม่ยากครับ ที่ ห้องแนะแนว ของทุกๆโรงเรียนมีข้อมูลและเอกสารมากมายให้ศึกษา หากข้อมูลเยอะเกินไปจนขี้เกียจอ่านเองก็ลองใช้ทางลัด ถามอาจารย์แนะแนวดูก็ได้ครับ อาจารย์ยินดีให้คำปรึกษากับน้องๆทุกคนแน่นอนครับ อย่าเขิน อย่าอาย อย่างน้อยไปห้องแนะแนวก็ได้ตากแอร์ (หรือพัดลม) เย็นกว่าตากแดดที่สนามแน่ๆ

       "มีคณะไหนบ้างที่ไม่รับผ่านระบบแอดมิชชั่น"
       จะมีข้อยกเว้นเกี่ยวกับการแอดมิชชั่นอยู่บ้าง เนื่องจากมหาวิทยาลัยหลายๆที่ไม่มีความเชื่อมั่นในการสอบแอดมิชชั่น จึงได้จัดการสอบตรงขึ้น โดยเฉพาะคณะทางด้านแพทย์ส่วนใหญ่จะรับเฉพาะการสอบตรง ไม่ค่อยจะได้เห็นคณะด้านแพทย์ที่รับเด็กที่ผ่านการสอบแอดมิชชั่นเท่าไหร่กันนัก และยังเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็วด้วย บางมหาวิทยาลัยรับผ่านแอดมิชชั่นปีที่แล้วแต่ไม่รับผ่านแอดมิชชั่นปีนี้ ต้องติดตามข่าวกันอย่างละเอียดปีต่อปีกันเลยทีเดียว ตรงกันข้ามกับการสอบตรงซึ่งรับทุกปี หากน้องๆต้องการเรียนต่อด้านแพทย์ ก็ควรจะเน้นไปที่การสอบตรงมากกว่าแอดมิชชั่นครับ


คราวนี้เราจะมาดูกันว่า O-NET ,GPAX ,GAT/PAT มีสาระสำคัญยังไงนะครับ

O-NET (Ordinary National Educational Test)


     O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 
1 ภาษาไทย
2 คณิตศาสตร์
3 วิทยาศาสตร์
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5 ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)



ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล O – NETประกอบด้วย
1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 80% – 90% : 10% – 20% ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer) 
### ซึ่งผู้รับผิดชอบก็คือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.)

GPAX  หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือเกรดเฉเลี่ยสะสมของน้องๆนั่นแหละ ซึ่งไม่ว่าจะเข้าคณะไหนก็ตาม GPAX จะมีผลต่อคะแนนรวมถึง 10% เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากๆ(ในทุกวิชา)ด้วยหล่ะ เพราะถ้าไม่ตั้งใจเรียนในห้อง  นอกจากจะเกรดตกแล้ว  คะแนน GPAX  10% ก็จะลดลงไปด้วย


วิธีการคิดคะแนน
1. เมื่อมีการตรวจกระดาษคำตอบมีวิธีการวิเคราะห์ข้อสอบทุกข้อเพื่อหาคุณภาพขอข้อสอบ ถ้าข้อสอบข้อใดไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ ไม่สามารถวัดหรือจำแนกได้ ข้อสอบข้อนั้นจะไม่นำมาคิดคะแนน ดังนั้นคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนสอบที่ได้มาจากข้อสอบที่มีคุณภาพทุกข้อ
2.คะแนนผลการสอบจะแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐานรายวิชา


GAT/PAT 

ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ 
              1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 % = คะแนนเต็ม 150 คะแนน
              2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษ
าอังกฤษ 50 % = คะแนนเต็ม 150 คะแนน

 ** คะแนน GAT รวม = 300 คะแนน

ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT :Professional and Academic Aptitude Test) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ              
              1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์              
              2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์              
              3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
              4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
              5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู              
              6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
              7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ


** สอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบปรนัยและอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย **
### ซึ่งผู้รับผิดชอบก็คือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.)


หลังจากที่เราทำความรู้จักเกี่ยวกับ Admission ไปแล้ว ว่าถ้าเราจะ Admission จะต้องประกอบด้วยการสอบ O-NET ,GAT/PAT และผลการเรียนรวม(GPAX) ต่อจากนี้ก็จะขอแนะนำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันอีกนะครับ

7 วิชาสามัญ


7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม


        สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบจ้า

ใครต้องสมัครบ้าง
        คนที่สมัครได้คือ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไปจ้า

มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญนี้บ้าง
        มีประมาณ 7 แห่งครับ ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะอักษรศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะเศรษฐศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร (คณะอักษรศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - คณะวิทยาการจัดการ - คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร - คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสหเวชศาสตร์) รับตรง กสพท. (คณะแพทยศาสตร์ - คณะทันตแพทยศาสตร์) และยังมีอีกหลายวิทยาลัยนะครับ อย่าลืมไปเช็คที่เว็บมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วยนะ
### ซึ่งผู้รับผิดชอบก็คือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.)


เคลียริ่งเฮาส์(Clearinghouse)


เรื่องของการรับตรงรวม ในตอนนี้ก็ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วว่า ทปอ. มีมติให้มีการรับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ขอสรุปสาระสำคัญๆ เป็นขั้นตอนการทำงานของระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
 

1. มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮาส์ (มีทั้งหมด 25 มหาวิทยาลัย) จะดำเนินการรับตรงเองเหมือนเดิม ทั้งออกระเบียบการรับตรงรับสมัคร จัดสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์  และ พิจารณาผู้ผ่านการคัดเลือก
 
2. ทั้งคุณสมบัติผู้สมัคร และเกณฑ์ในการพิจารณา  แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดเอง ดังนั้นต้องดูว่าโครงการรับตรงที่สนใจ กำหนดคุณสมบัติไว้ยังไง ใช้คะแนนวิชาอะไรบ้าง  ซึ่งคะแนนมีหลายแบบ มีทั้งดูจาก
          2.1 คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ที่จะสอบในเดือนมกราคม จัดสอบโดย สทศ.
          2.2 คะแนนสอบ GAT PAT รอบเดือนตุลาคม 2554 
          2.3  คะแนนที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
         2.4 ดูคะแนนหลายอย่างคละกัน อาจจะวิชาสามัญและ GAT PAT หรือ GAT PAT กับการจัดสอบเอง
ซึ่งสามารถสมัครได้หลายโครงการ หลายมหาวิทยาลัยที่สนใจ และคุณสมบัติผ่าน

3. พอทราบระเบียบการของคณะที่สนใจแล้ว ก็ไปสอบให้ครบตามที่คณะกำหนดว่าต้องใช้คะแนนวิชาอะไรบ้าง 

4. สอบเสร็จทางสทศ. จะส่งคะแนนของเราให้กับมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาคะแนน และการสอบสัมภาษณ์  ก็จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก

5. ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2555มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้สอท.เพื่อให้สอท.ประกาศ ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2555

6. วันที่ 11 – 17 มีนาคม 2555 ต้องยืนยันสิทธิ์ในคณะที่สอบติด ถ้าสอบติดหลายโครงการ  สามารถยืนยันได้แค่ 3ครั้งเท่านั้น สอท. จะยึดการยืนยันครั้งหลังสุดนะครับ   คือ เอาได้เพียงอันเดียวเท่านั้น แต่ถ้าไม่ดำเนินการจะถือว่าสละสิทธิ์ไปเลย   

7.  วันที่ 21 มีนาคม 2555 สอท. จะส่งชื่อให้กับมหาวิทยาลัยที่ยืนยันสิทธิ์ และ ทำการตัดสิทธิ์ Admissions ค่ะ

**** สรุปแล้ว ระบบเคลียริ่งเฮาส์ เป็นระบบที่คัดเลือกนักเรียนในการรับตรง เพื่อให้นักเรียนทำการยืนยันสิทธิ์ เพียง 1 ที่ ไม่ซ้ำซ้อนกันเท่านั้น ****
## เว๊ปไซต์ www.cuas.or.th

หลังจากที่อ่านบทความนี้ไปแล้วก็อย่าเพิ่งท้อไปนะครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับเด็กไทยทุกคนที่กำลังจะก้าวไปเป็น นิสิต-นักศึกษา ในรั้วมหาวิทยาลัยกันทุกคนนะครับ 

ขอฝากข้อคิดทิ้งท้ายเอาไว้นะครับว่า 
       " เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย ดังนั้นแล้ว "ลิขิตฟ้า" หรือจะสู้ "มานะตน"  
เป็นคำกล่าวของ จูกัดเหลียน(ขงเบ้ง)

ขอขอบคุณเนื้อหา สาระความรู้ และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็ปไซต์ต่อไปนี้นะครับ
- http://www.niets.or.th/
- http://blog.eduzones.com
- http://www.dek-d.com
- http://www.tlcthai.com
- http://www.tewfree.com
- http://unigang.com/home
- http://enn.co.th/

ความคิดเห็น

  1. Ayoz Casino and Resort Tickets - Jackson, MS - JTH
    Buy your event tickets online and see what your friends are saying. Find 양산 출장마사지 tickets at Ticketmaster.com. 태백 출장마사지 Read reviews, view events, 광명 출장마사지 and RSVP today.Fri, 아산 출장샵 Dec 17Chicago Bears 의정부 출장마사지 at Green Bay Tue, Dec 14Los Angeles Rams at Arizona

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เล่าเรื่อง "บุรีรัมย์พิทยาคม

การรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนต่อ ระดับชั้น ม.1 ปีการศึกษา 2556